วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท

ทศพิธราชธรรม : บัญญัติ 10 ประการ สำหรับพระมหากษัตริย์
ทาน การให้ การเสียสละ

ศีล การรักษากาย วาจา ใจให้ปราศจากโทสะ

ปริจาคะหรือบริจาค การเสียสละเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม

อาชชวะ ความเป็นผู้มีอัธยาศัย ซื่อตรง สุจริตธรรม

มัททวะ ความอ่อนโยน

ตปะ ความเพียรพยายาม กำจัดความเกียจคร้าน

อักโกธะ ความไม่โกรธ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น

อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียนต่อตนเองและผู้อื่น

อวิโรธนะ การวางตนให้หนักแน่น ยึดมั่นในธรรมและนิติธรรม

ขันติ การอดทนต่อความโลภ โกรธ หลง

พระปฐมบรมราชโองการ
“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม

เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ”
หลักในการทรงงาน
การบริหารจัดการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน : การยึดถือประชาชนเป็นศูนย์กลางในการรับบริการจากรัฐ
-การพัฒนาตามแนวทางภูมิสังคม ตามสภาพความเป็นจริง
-การให้ความสำคัญแก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
-การบริหารจัดการโดยมีโครงการและแผนงาน เน้นหลักวิชา
-การดำเนินงานพัฒนาตามลำดับชั้นตอน
-การบริหารจัดการแบบบูรณาการ
-การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อแก้ไขการดำเนินงานในอนาคต
-ไม่ยึดติดทฤษฎีหรือตำรา
การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
-ไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์ตายตัว เพื่อความคล่องตัว
-การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมหรือการบริการรวมที่จุดเดียว

การบริหารจัดการที่มุ่งเน้นความคุ้มค่าในเชิงภารกิจ
-ขาดทุนคือกำไร(Our loss is our gain)

การบริหารจัดการความรู้
-การสำรวจความรู้
-การรวบรวมพัฒนาความรู้
-การสังเคราะห์ความรู้ให้เป็นระบบ
-การถ่ายทอดความรู้หรือแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การบริหารการเปลี่ยนแปลง
-การนำทาง : วางแผน กำกับ ตรวจสอบ วัดผล
-ภาวะผู้นำในการสร้างวิธีการทำงานใหม่
-การปรับแต่งหรือเสริมสร้างพลัง
-การมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง

การกำกับ ติดตาม และประเมินผล
-การกำกับ ติดตาม ประเมินผลด้วยตนเอง
-มีการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ

การบริหารจัดการแนวใหม่
การบริหารจัดการที่ใช้แนวทาง วิธีการของภาคเอกชน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานและปรับลดขนาดของภาครัฐให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น