วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การตรวจสอบการจัดเก็บรายได้

การตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ การตรวจสอบเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ว่าการจัดเก็บได้ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่เพียงใด ทั้งนี้ เพื่อแสดงความเห็นและเสนอแนะว่าการจัดเก็บเป็นไปตามกฏหมาย/ระเบียบ ข้อบังคับ/หนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทย และมติ ครม.หรือไม่
การตรวจสอบสืบสวน การตรวจสอบกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการทุจริตหรือปฏิบัติผิดข้อกำหนด ซึ่งได้ข้อมูลจากการตรวจสอบลักษณะอื่น หรือจากการร้องเรียนบัตรสนเท่ห์และที่เป็นข่าวจากสื่อมวลชน
ข้อสังเกตในการเขียนเช็ค
1. ซื้อ / เช่า / จ้าง
• สั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้
• ขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออก
• ขีดคร่อมเช็ค
2. รับเงินสดมาจ่าย
• สั่งจ่ายในนามเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ
• ขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ
“หรือผู้ถือ” ออก
• ห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเงินสด
กรณีใบเสร็จรับเงินที่ยังมิได้ใช้สูญหาย
1. แจ้งความนับแต่ทราบว่าหาย
2. ติดประกาศยกเลิกไว้ในที่พบเห็นและตรวจสอบได้ง่าย
3. ทำหนังสือแจ้งเวียนการยกเลิกให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบ
หลักฐานการจ่าย หมายถึง หลักฐานซึ่งแสดงว่าได้มีการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้รับตามข้อผูกพันแล้ว
- ใบเสร็จรับเงิน (ใบสำคัญคู่จ่าย)
- ใบสำคัญรับเงิน
- ใบรับรองการจ่ายเงิน
- แบบคำขอเบิกที่มีช่องรับเงิน
- กค. กำหนด
กรณีใบสำคัญคู่จ่ายเงินสูญหาย
1. ถ้าเป็นใบเสร็จรับเงินสูญหาย ให้ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งผู้รับเงินรับรองแทนได้
2. ถ้าใบสำคัญรับเงินสูญหาย หรือไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินตาม 1. ได้ ให้ผู้จ่ายเงิน ทำใบรับรองการจ่ายเงิน
ใบรับรองการจ่ายเงิน
1. การจ่ายเงินในต่างประเทศ ซึ่งกฎหมาย หรือประเพณีนิยมของประเทศนั้น ๆ ไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินหรือออกให้แต่ไม่เป็นตามที่กำหนด
2. กรณีซึ่งตามลักษณะไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินได้
3. ค่าไปรษณียากร
4. จ่ายเงินรายหนึ่ง ๆ ไม่ถึง 10 บาท
5. ค่ารถ หรือเรือนั่งรับจ้าง
6. ค่าโดยสารรถไฟ รถยนต์ / เรือยนต์ประจำทาง
7. ใบสำคัญรับเงินสูญหาย
8. ใบเสร็จรับเงินสูญหายและไม่อาจขอสำเนาได้
9. ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สูญหาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น