วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การวางแผนการวางและจัดทำผังเมืองรวมของท้องถิ่นภายใต้กระบวนการผังเมือง

ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการวางผังเมือง โดย...นายธรรมรงค์ ราชามุสิกะ
วิสัยสัศน์การวางผังมือง (Vision Planning) คือความคิด จินตนาการ หรือมโนภาพแห่ง การ มอง ไปในอนาคต การมองไปข้างหน้า และการมองไปรอบๆ ด้านระยะการมองขึ้นอยู่กับบริบทของกาลเวลา สถานที่และชุมชนนั้น ๆ และจะต้องมองถึงสภาพแวดล้อมที่ไม่ไกลนักและเป็นเรื่องคาดการณ์ในระยะไกล้ด้วย “ฝันที่เป็นจริง”
การวางแผน (Planning) หมายถึง การมองหรือการคิดถึงเป้าหมาย หรือเป้าประสงค์ที่มีความหมายและมีความหมายในการพัฒนาหรือทางเลือกหรือการกระทำในอนาคตเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การวางแผนมี 2 ลักษณะ
1. การวางแผนเชิงกลยุทธ์
2. การวางแผนเชิงการจัดการ
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นวิทยาการและศิลปะแห่งการสั่งการที่นำไปใช้ในการวางแผนทั้งหมดในการดำเนินการสู้รบอย่างขนานใหญ่และเต็มรูปแบบ และมีองค์ประกอบคือกลยุทธ์ระดับย่อยที่เรียกว่า “ Tactics ”
1. การกำหนดกลยุทธ์
2. การกระทำให้เป็นไปตามกลยุทธ์
3. การควบคุมในเชิงกลยุทธ์
การวางแผนเชิงการจัดการ หมายถึง การกำหนดเป้าหมายและเป้าประสงค์ระยะยาวของกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งและมีการรับดำเนินการรวมทั้งการจัดการด้านทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นสำหรับกำหนดให้เป้าหมายต่างๆดำเนินการไปได้ เกี่ยวข้องกับการวางแผนอย่าง “สมเหตุสมผล” Rational Planning
การพัฒนา (Development) การทำให้เจริญขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป จากง่ายๆไปหายาก จากเรื่องยากไปสู่ความสลับซับซ้อน
ในภาษาไทยการพัฒนาใช้ความหมายเชิงบวก หรือเชิงปฏิฐาน (positive ) ทั้งนี้โยงกับศัพท์ที่ว่าวัฒนาถาวร ที่หมายถึง ความสมบูรณ์พูนสุข
ในภาษาอังกฤษใช้ในความหมายในเชิงชื่นชมที่บ่งบอกถึงความเป็นมิตร (User Friendly Term Development)
การพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development หมายถึง การพัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ทำให้คนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดความสามารถของเขาในการที่จะตอบสนองต่อความต้องการของเขาเอง
การพัฒนาที่ผ่านมา
ใช้เศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง
ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือจัดการ
ใช้อุตสาหกรรมเป็นตัวชี้วัด
ตัวกระทำ
F ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวถูกกระทำ
 สภาวะโลกร้อน
 สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
F สังคมเสื่อมทราม
ปัญหา
ปัญหาของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
1. Population
2. Depletion
3 Pollution
(ประชากรเพิ่มมากขึ้น ทรัพยากรร่อยหรอ ก่อมลภาวะ)
แกนกลางในการแก้ปัญหา
1) Science
2) Technology
3) Activities Economy
เมื่อเดินถูกทางทุกอย่างก็ถูกต้องมองระบบเก่ามาปรับปรุง
1. ENVIRONMENT
1) Population
2) Depletion
3) Pollution
2. DEVELOPMENT
1) Science
2) Technology
3) Economy
3. HUMENT DEVELOPMENT
1) Hand
2) Head
3) Hard
นโยบาขการวางและจัดทำผังประเทศ
วัตถุประสงค์ของการวางผังประเทศ
บทบาท
วิสัยทัศน์
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาพื้นที่
ผังแนวคิดในการพัฒนาประเทศ
ผังนโยบายรายสาขา
วัตถุประสงค์ การวางผังประเทศ
1) เพื่อเป็นผังแม่บทในการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศ
ทั้งทางด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระบบชุมชน โครงสร้างพื้นฐาน และ
โครงการพัฒนาต่างๆ สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม
และวิถีชีวิตของประชาชน เพื่อให้สามารถแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์
2) เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้
3) เพื่อเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระจายโอกาสการมีงานทำ อย่าง
เท่าเทียมทั้งในเมือง และ ชนบท
4) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
5) เพื่อจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอและ
เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์ทั้งใน ปัจจุบัน และ อนาคต

ช่วง
ระยะเวลา
การพัฒนา ช่วงปี สถานภาพของประเทศไทย (Positioning)
5 ปี


15ปี

30ปี

50ปี พ.ศ. 2551-2555


พ.ศ. 2551-2565

พ.ศ. 2551-2580

พ.ศ. 2551-2600 เป็น Gateway ระหว่างอาเซียนและจีนตอนใต้รวมทั้ง
เป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย
เป็นประเทศอุตสาหกรรมแปรรูปและบริการบนฐานทรัพยากรและองค์ความรู้ของตนเอง
เป็นประเทศพัฒนาแล้ว
เป็นประเทศชั้นนำของโลกด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีการเกษตร อาหาร และ บริการด้านสุขภาพ

วิสัยทัศน์ระดับประเทศในด้านการผังเมือง
“ พัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมือง และ ชนบทอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้เท่าเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีบทบาทบนเวทีการพัฒนาในกลุ่มภูมิภาคเอเชียควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกของการดำรงวิถีชีวิต ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ”
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเชิงพื้นที่
1) ยุทธศาสตร์เชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก เน้นการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพฯให้เป็นเมืองมาตรฐานนานาชาติ
3) ยุทธศาสตร์การกระจายความเจริญ การกระจายตัวของประชากร แรงงาน และแหล่งงาน โดยการพัฒนาระบบกลุ่มเมือง (Cluster) ประกอบด้วยศูนย์กลางความเจริญที่เป็นเมืองสำคัญของแต่ละภาค เมืองขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อให้เกิดสมดุลและมีการกระจายตัวอย่างเหมาะสม
4) มีการพัฒนาที่สมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาพื้นที่ ( Sustainability )
5) ส่งเสริมนวัตกรรม ( Innovation )
ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน
พัฒนาพื้นที่เมือง
1. ควบคุมการเติบโตของพื้นที่เมืองไม่ให้รุกล้ำพื้นที่สงวน
2. กำหนดให้ศูนย์กลางเมืองมีความหนาแน่นแบบเข้มข้น
พื้นที่สงวนและพื้นที่อนุรักษ์
1. กำหนดสัดส่วนพื้นที่ป่าไม้
2. กำหนดนโยบายการใช้ที่ดินในเขตอนุรักษ์ เขตสงวน และ
เขตพัฒนาสิ่งแวดล้อม
3. ฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับสู่สภาพเดิม
ผังภาค (Regional Plan)
ผังนโยบายการใช้พื้นที่แต่ละภาคอย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยง ในการรองรับโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ของการพัฒนาเมือง ชนบท การใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ศักยภาพของพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิธีชีวิตของประชาชน สนับสนุนให้ไทยพร้อมแข่งขันในเวทีโลก สร้างความสมดุลระหว่างเมืองและชนบท การพัฒนากับการอนุรักษ์
ผังเมืองเฉพาะ เป็นผังระดับพื้นที่เฉพาะ เป็นแผนผังและโครงการดำเนินการ เพื่อพัฒนาและดำรงรักษาบริเวณเฉพาะแห่งหรือที่เกี่ยวข้องหรือชนบท เพื่อประโยชน์แก่การผังเมือง ผังเมืองเฉพาะเป็นผังที่มีรายละเอียดเพิ่มเติมจากผังเมืองรวม และมีข้อกำหนดที่แน่นอนตามกฎหมาย เพื่อใช้ในโครงการพัฒนาและดำเนินโครงการต่างๆ
เพื่ออนุรักษ์ดำรงรักษา ฟื้นฟูบูรณะ ส่งเสริมอาคาร สถานที่หรือวัตถุที่มีประโยชน์ มีคุณค่าในทางศิลปกรมม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์โบราณคดี และความสวยงามตามธรรมชาติ
ผังเฉพาะกิจ เป็นผังระดับพื้นที่เฉพาะ เป็นผังเพื่อพัฒนาเรื่องหรือเฉพาะพื้นที่ เช่นศูนย์ราชการ สวนสาธารณะ การปรับปรุงพื้นที่ราชพัสดุเป็นต้น เพื่อกำหนดที่ตั้งและขนาดของพื้นที่สำหรับโครงการ ต่างๆของภาครัฐ
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
“การผังเมือง” หมายความว่า การวาง จัดทำและดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองรวมผังเมืองเฉพาะในบริเวณเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท เพื่อสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมืองขึ้นใหม่ หรือแทนเมืองหรือส่วนของเมืองที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้มีหรือทำให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสุขลักษณะความสะดวกสบาย ความเป็นระเบียบ ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม และสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสังคม และสภาพแวดล้อม เพื่อดำรงร้กษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์ หรือคุณค่าทางศิลปกรรมสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี หรือเพื่อบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติภูมิประเทศที่สวยงาม หรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ
“ ผังเมืองรวม ” หมายความว่า แผนผัง นโยบาย และโครงการ รวมถึงมาตราการควบคุมโดยทั่วไป เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาและดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมขนส่ง การสาธารณูปโภคสาธารณูปการ บริหารสาธารณะและสภาพแวดล้อม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของเมือง
“ ผังเมืองเฉพาะ”หมายความว่า แผนผังและโครงการดำเนินการ เพื่อพัฒนาและดำรงรักษาบริเวณเฉพาะแห่งหรือที่เกี่ยวข้องหรือชนบท เพื่อประโยชน์แก่การผังเมือง
“ อาคาร ” หมายความว่า อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควยคุมการก่อสร้าง รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างทุกชนิด หรือสิ่งอื่นใดที่บน ใต้หรือผ่านเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำ
“ที่อุปกรณ์”หมายความว่า ที่ดินของเอกชนซึ่งผังเมืองเฉพาะจัดให้เป็นที่เว้นว่างหรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่นด้วย เช่น ทางเท้า ทางเดิน ตรอกหลังหรือข้างอาคาร ทางน้ำหรือท่อระบายน้ำ
“ที่โล่ง”หมายความว่า บริเวณที่ดินอันได้ระบุไว้ในผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะให้เป็นที่ว่างส่วนใหญ่และเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์
“ เจ้าพนักงานการผัง ” หมายความว่า (ผฉ) เจ้าพนังงานการผังผู้จัดทำผังที่ได้ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา ใน (ผร) ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองหรือเจ้าพนังานท้องถิ่นผู้วางและจัดทำผังเมืองรวม
“ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ” ในเขตเทศบาล หมายความว่า คณะเทศมนตรี ในเขตสุขาภิบาล หมายความว่า คณะกรรมการสุขาภิบาล ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอที่ได้รับอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัด ในเขตกรุงเทพมหานคร หมายความว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือหัวหน้าเขตที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครให้ทำการแทน
“ เจ้าห้าที่ดำเนินการ ” หมายความว่า เจ้าพนังงาน หรือองค์การหรือบรรษัทของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่หรือซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ทำกิจกรรมเป็นไปตามผังเฉพาะ
“องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล หรือกรุงเทพมหานคร
“ผู้ว่าราชการจังหวัด” หมายความรวมถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่เป็นการวางและจัดทำผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครให้ทำการแทน
“รัฐมนตรี” หมายความ รัฐมนตรีผู้รัษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 26 การใช้บังคับผังเมืองรวมให้กระทำตามกฎกระทรวง กฏกระทรวงตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการตาม ม.17 ให้ใช้บัคับได้ไม่เกิน 5 ปี
ในกรณีที่ผังหมดอายุไม่อาจแก้ไขดำเนินการได้ทันภายระยะเวลาที่กฏกระทรวงใช้บังคับ ให้สำนักผังเมือง หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการผังเมือง ขยายเวลาการใช้บังคับกฏกระทรวงตามวรรคหนึ่งได้อีก สองครั้งครั้งละไม่เกินหนึ่งปี
ในเขตที่ได้มีกฏกระทรวงใช้บัคับผังเมืองรวมแล้วแล้ว ห้ามบุคคลใดใช้ประโยชน์ที่ดินผิดใปจากข้อกำหนดวัในผังเมืองรวมหรือปฏิบัติการใดๆแย้งไปจากผังเมืองรวมนั้น (ไม่บังคับย้อนหลัง) ม.27
การอนุญาตก่อสร้างอาคารรวมทั้งการดัดแลงเปลี่ยนแปลงฯลฯตาม พ.ร.บ.
ควบคุมอาคาร พ..2522 การอนุญาตต้องตรวจสอบกับกฏกระทรวงดังนี้
1. ที่ตั้งที่ดินที่ขออนุญาตในเขตผังเมืองรวม
2. ประเภทของกิจการในแปลงที่ดินที่ขออนุญาติ
3. ตรวจสอบข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ระบุตามผัง ฯ
4. การขออนุญาติประกอบกิจการ เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง
การดำเนินการตามกกหมายผังเมืองรวมด้วยกฏหมายอื่นให้เป็นไปตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น
- พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535
- พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
- พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ..2522
- พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินพ.ศ. 2535
การรายงานและการตรวจสอบให้เป็นไปตามกฏกระทรวง เมื่ออนุญาติให้มีการก่อสร้างตามกฏหมายผังเมือง แล้วควรมีการรายงานการอนุญาติทุกเดือน เพื่อควบคุมให้เป็นไปตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวม
1. กิจกรรมที่กำหนดให้ใช้เป็นส่วนใหญ่ในแต่ละประเภท (การใช้ที่ดินหลัก)
2. กิจกรรมอื่นที่กำหนดให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละที่กำหนด (การใชที่ดินรอง)
3. ตรวจสอบที่ดินและอาคารให้เป็นไปตามข้อกำหนดทั้ง การใช้ประโยชน์หลักและประโยชน์รอง“หากพบว่าผ่าฝืนกฏกระทรวงต้องดำเนินการตามกฏหมาย”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น