วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท

ทศพิธราชธรรม : บัญญัติ 10 ประการ สำหรับพระมหากษัตริย์
ทาน การให้ การเสียสละ

ศีล การรักษากาย วาจา ใจให้ปราศจากโทสะ

ปริจาคะหรือบริจาค การเสียสละเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม

อาชชวะ ความเป็นผู้มีอัธยาศัย ซื่อตรง สุจริตธรรม

มัททวะ ความอ่อนโยน

ตปะ ความเพียรพยายาม กำจัดความเกียจคร้าน

อักโกธะ ความไม่โกรธ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น

อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียนต่อตนเองและผู้อื่น

อวิโรธนะ การวางตนให้หนักแน่น ยึดมั่นในธรรมและนิติธรรม

ขันติ การอดทนต่อความโลภ โกรธ หลง

พระปฐมบรมราชโองการ
“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม

เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ”
หลักในการทรงงาน
การบริหารจัดการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน : การยึดถือประชาชนเป็นศูนย์กลางในการรับบริการจากรัฐ
-การพัฒนาตามแนวทางภูมิสังคม ตามสภาพความเป็นจริง
-การให้ความสำคัญแก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
-การบริหารจัดการโดยมีโครงการและแผนงาน เน้นหลักวิชา
-การดำเนินงานพัฒนาตามลำดับชั้นตอน
-การบริหารจัดการแบบบูรณาการ
-การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อแก้ไขการดำเนินงานในอนาคต
-ไม่ยึดติดทฤษฎีหรือตำรา
การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
-ไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์ตายตัว เพื่อความคล่องตัว
-การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมหรือการบริการรวมที่จุดเดียว

การบริหารจัดการที่มุ่งเน้นความคุ้มค่าในเชิงภารกิจ
-ขาดทุนคือกำไร(Our loss is our gain)

การบริหารจัดการความรู้
-การสำรวจความรู้
-การรวบรวมพัฒนาความรู้
-การสังเคราะห์ความรู้ให้เป็นระบบ
-การถ่ายทอดความรู้หรือแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การบริหารการเปลี่ยนแปลง
-การนำทาง : วางแผน กำกับ ตรวจสอบ วัดผล
-ภาวะผู้นำในการสร้างวิธีการทำงานใหม่
-การปรับแต่งหรือเสริมสร้างพลัง
-การมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง

การกำกับ ติดตาม และประเมินผล
-การกำกับ ติดตาม ประเมินผลด้วยตนเอง
-มีการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ

การบริหารจัดการแนวใหม่
การบริหารจัดการที่ใช้แนวทาง วิธีการของภาคเอกชน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานและปรับลดขนาดของภาครัฐให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มารู้จักสายงานเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนกันเถอะ!

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
ต้องทำอะไรบ้าง
ต้องวิเคราะห์ทุกเรื่องในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลยหรือ?
ทำไมตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ฯ ถึงใช้คำว่า “เจ้าหน้าที่” ทำไม ไม่ใช้คำว่า “นัก” เหมือน นักพัฒนาชุมชน นักวิชาการศึกษา นักอื่นๆ ทั้งๆที่สายงามเริ่มต้นที่ระดับ 3 เหมือนกัน ทำไม ทำไม ???
ก่อนอื่นมาดูความหมายของชื่อตำแหน่งกันก่อน
คำว่า “เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน” เกิดจากคำต่างๆ ผสมกันดังนี้ จ้า
คำว่า “เจ้าหน้าที่” หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในการปฏิบัติงาน นัยของคำนี้ จึงบ่งบอกให้รู้ว่า ตำแหน่ง ของคุณ มีหน้าที่ในการปฏิบัติงาน เป็นสายปฏิบัติ ไม่ใช่ สายการบริหารงาน เนื่องจากการบริหาร คือ การใช้คนอื่นให้ทำงาน ดังนั้น หากเมื่อใดที่เจ้าหน้าที่ ใช้คนอื่นให้ทำงาน นั่นหมายถึง เจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่รู้จักตนเองทำตัวเป็นผู้บริหาร
คำว่า “วิเคราะห์” หมายถึง การคิดใคร่ครวญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น วิเคราะห์เหตุการณ์ ก็คือการคิดใคร่ครวญถึงสถานการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นนั่นเอง โดยการวิเคราะห์นั้นจะเป็นการคิดใคร่ครวญแบบแยกส่วน
คำว่า “นโยบาย” เป็นคำสมาสเกิดจาก คำว่า นย ซึ่งแปลว่า แนวทาง กับคำว่า อุบาย ซึ่งแปลว่า กลวิธี ดังนั้น คำว่า นโยบาย จึงหมายถึง กลวิธีแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
คำว่า “และ” เป็นคำเชื่อม ที่มีสภาพบังคับ นั่นหมายความว่า บังคับให้กระทำทั้งสองอย่าง ในที่นี้จึงหมายถึง ให้วิเคราะห์ทั้งนโยบายและแผน
คำว่า “แผน” หมายถึง สิ่งที่คิดว่าจะทำ อะไรก็ตามที่คุณคิดว่าคุณจะทำนั่นแหละคือแผน
ดังนั้น คำถามที่ถามว่า “เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน” วิเคราะห์ทุกเรื่องเลยหรือไม่นั้น ก็ตอบได้เต็มปากเต็มคำว่า “ไม่ใช่” เพราะเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน มีหน้าที่วิเคราะห์แค่ 2 เรื่องหลักเท่านั้น คือ วิเคราะห์ 1.นโยบาย และ2.แผน
หากให้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน วิเคราะห์เรื่องอื่นๆสามารถทำได้หรือไม่ คำตอบคือ “ทำได้” แต่ผลของการวิเคราะห์ก็อาจไม่ถูกต้องเหมือนที่คนทั่วๆไปวิเคราะห์ เพราะสายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน รับผู้ที่จบสังคมศาสตร์ เช่น รัฐศาสตร์ จึงมีความรู้ด้านนโยบายและแผนเป็นพิเศษ
หากให้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน วิเคราะห์อากาศว่าวันนี้ฝนจะตกหรือไม่ ความถูกต้องของคำตอบคงจะเท่ากับที่นักวิชาการศึกษา นักพัฒนาชุมชน หรือนักวิชาการการเงินและบัญชีวิเคราะห์ก็เป็นไปได้ เนื่องจากทุกคนมีพื้นฐานความรู้ทางด้านการพยากรณ์อากาศเท่ากัน เป็นต้น
นโยบายและแผนมาจากไหน?
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นนามธรรม เป็นองค์กรไม่มีชีวิต คิดนโยบายและแผนเอง ไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีคนทำหน้าที่แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง คนที่ทำหน้าที่แทนก็คือคนที่มีอำนาจสูงสุดในองค์กรนั้นๆ เช่น นายก อบต., นายกเทศมนตรี, นายก อบจ. เป็นต้น
ดังนั้น การวิเคราะห์นโยบายและแผนก็จึงเป็นการวิเคราะห์นโยบายและแผนของท่านนายกฯ นั่นเอง
แล้ว นโยบายและแผน ของท่านนายกฯ ทั้งหลายมาจากไหนกัน โอ้วว...
คำตอบ ก็คือ มากจากความคิดของท่านนายกฯ นั่นเอง ท่านนายกฯมีเป้าหมายอะไร มีแนวทางวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างไร
เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ฯที่จะต้องวิเคราะห์ ตำแหน่งนี้ จึงมีความสำคัญมาก เพราะ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ฯต้องคิดให้เหมือนที่นายกฯ คิด และทำให้นายกฯ คิดเหมือนที่เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ฯ คิด หรืออาจกล่าวได้ว่า เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ใช้สมองร่วมกับนายกฯ นั่นเอง
ทำไม? ใช้คำว่า “เจ้าหน้าที่”
ด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่ฯ วิเคราะห์ใช้สมองร่วมกันกับผู้บริหาร
ดังนั้น จึงต้องมีการตอกย้ำ ไม่ให้ลืมตัว ว่าตำแหน่งนี้ เป็นสายงานปฏิบัติไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ไม่ใช่ผู้บริหาร เพราะการทำงานใกล้ชิดกับผู้บริหารเป็นอย่างมากในบางครั้งอาจทำตัวเป็นผู้บริหารเสียเอง เพื่อเป็นการเตือนและตอกย้ำ ดังกล่าว จึงใช้ว่า “เจ้าหน้าที่”
เช่นเดียวกับ “เจ้าหน้าที่งบประมาณ” งบประมาณเป็นเรื่องสำคัญ ปกติตำแหน่ง ปลัดฯ จะเป็นเจ้าหน้าที่งบประมาณโดยตำแหน่ง แต่เป็นการย้ำว่า ตำแหน่งนี้เป็นสายงานปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎ/ระเบียบ ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ จึงใช้คำว่า “เจ้าหน้าที่” เช่นเดียวกัน