วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หลักการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด

หลักการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด
1. แบ่งแยกหน้าที่รับเงิน จ่ายเงิน ลงบัญชี
2. วางระเบียบให้นำเงินฝากธนาคารทุกวัน
3. ใช้ระบบใบสำคัญเพื่อควบคุมการจ่ายเงิน
4. จัดให้มีการตรวจสอบเป็นครั้งคราว
5. จัดทำรายงานสถานะการเงินประจำวัน
6. ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าในบริเวณสถานที่เก็บรักษาเงินสด
7. มีการตรวจนับโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
การควบคุมพัสดุ

1. มีการขออนุมัติเบิกใช้พัสดุทุกครั้ง
2. มีสถานที่จัดเก็บปลอดภัยและเหมาะสมกับสภาพของพัสดุ
3. มีการตรวจนับพัสดุคงเหลือประจำปีตามระเบียบฯ
4. การจำหน่ายพัสดุและการลงทะเบียน

กำหนดหลักเกณฑ์ที่จะควบคุม

กำหนดหลักเกณฑ์ที่จะควบคุม
การควบคุมเงินรับ
1. แบ่งแยกหน้าที่
2. ออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน
3. ใช้ใบเสร็จรับเงินทีละเล่ม
4. ใช้ใบเสร็จรับเงินเรียงตามเลขที่
5. กำหนดให้นำเงินฝากธนาคารทุกวันที่มีการรับเงิน
6. เปรียบเทียบยอดในบัญชีกับ Bank Statement
7. ทำทะเบียนคุมเช็ค
8. มีการสับเปลี่ยนหน้าที่ระหว่างกัน
9. การรับเงินลงบัญชีเป็นปัจจุบันทุกวันและมีเอกสารประกอบถูกต้องครบถ้วน
การควบคุมเงินจ่าย
1.แบ่งแยกหน้าที่
2.จ่ายเช็คทั้งหมดและมีวงเงินสดย่อย
3.มีการอนุมัติจ่ายทุกครั้งจากผู้มีอำนาจ
4.กำหนดผู้ลงนามในเช็ค 3 คนร่วมกัน
5.ใช้เช็คเรียงตามลำดับเลขที่
6.ประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว” บนหลักฐานการจ่ายเงินทุกใบ
7.จัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารทุกสิ้นเดือน

การตรวจสอบการจัดเก็บรายได้

การตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ การตรวจสอบเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ว่าการจัดเก็บได้ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่เพียงใด ทั้งนี้ เพื่อแสดงความเห็นและเสนอแนะว่าการจัดเก็บเป็นไปตามกฏหมาย/ระเบียบ ข้อบังคับ/หนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทย และมติ ครม.หรือไม่
การตรวจสอบสืบสวน การตรวจสอบกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการทุจริตหรือปฏิบัติผิดข้อกำหนด ซึ่งได้ข้อมูลจากการตรวจสอบลักษณะอื่น หรือจากการร้องเรียนบัตรสนเท่ห์และที่เป็นข่าวจากสื่อมวลชน
ข้อสังเกตในการเขียนเช็ค
1. ซื้อ / เช่า / จ้าง
• สั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้
• ขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออก
• ขีดคร่อมเช็ค
2. รับเงินสดมาจ่าย
• สั่งจ่ายในนามเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ
• ขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ
“หรือผู้ถือ” ออก
• ห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเงินสด
กรณีใบเสร็จรับเงินที่ยังมิได้ใช้สูญหาย
1. แจ้งความนับแต่ทราบว่าหาย
2. ติดประกาศยกเลิกไว้ในที่พบเห็นและตรวจสอบได้ง่าย
3. ทำหนังสือแจ้งเวียนการยกเลิกให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบ
หลักฐานการจ่าย หมายถึง หลักฐานซึ่งแสดงว่าได้มีการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้รับตามข้อผูกพันแล้ว
- ใบเสร็จรับเงิน (ใบสำคัญคู่จ่าย)
- ใบสำคัญรับเงิน
- ใบรับรองการจ่ายเงิน
- แบบคำขอเบิกที่มีช่องรับเงิน
- กค. กำหนด
กรณีใบสำคัญคู่จ่ายเงินสูญหาย
1. ถ้าเป็นใบเสร็จรับเงินสูญหาย ให้ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งผู้รับเงินรับรองแทนได้
2. ถ้าใบสำคัญรับเงินสูญหาย หรือไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินตาม 1. ได้ ให้ผู้จ่ายเงิน ทำใบรับรองการจ่ายเงิน
ใบรับรองการจ่ายเงิน
1. การจ่ายเงินในต่างประเทศ ซึ่งกฎหมาย หรือประเพณีนิยมของประเทศนั้น ๆ ไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินหรือออกให้แต่ไม่เป็นตามที่กำหนด
2. กรณีซึ่งตามลักษณะไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินได้
3. ค่าไปรษณียากร
4. จ่ายเงินรายหนึ่ง ๆ ไม่ถึง 10 บาท
5. ค่ารถ หรือเรือนั่งรับจ้าง
6. ค่าโดยสารรถไฟ รถยนต์ / เรือยนต์ประจำทาง
7. ใบสำคัญรับเงินสูญหาย
8. ใบเสร็จรับเงินสูญหายและไม่อาจขอสำเนาได้
9. ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สูญหาย

การตรวจสอบการเงินทั่วไป

การตรวจสอบการเงินทั่วไป การตรวจสอบการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินอื่น ว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ โดยกำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ
การตรวจสอบงบการเงิน การตรวจสอบเพื่อแสดงความเห็นในฐานะผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจ ว่าเป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปหรือไม่ กำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ
การตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบความถูกต้องของการดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือข้อบังคับ/หนังสือหารือและมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดเกี่ยวกับ
การตรวจรับสิ่งของที่ตกลงซื้อขายกันเป็นชุด(ที่นร(กวพ)0901/ว48)
การตรวจสอบความชำรุดบกพร่องก่อนการคืนหลักประกันสัญญา
การตรวจสังเกตการณ์การปฏิบัติงานตามสัญญา
มาตรการป้องกันหรือลดโอกาสในการสมยอมกันในการเสนอราคา
ไม่ปิดประกาศการจัดหาพัสดุหรือไม่จัดส่งเอกสารสอบราคา หรือประกวดราคา โดยไม่มีเหตุผล ผิดระเบียบพัสดุหรือมิชอบ เกิดความเสียหาย
การประกวดราคา
ไม่ปิดประกาศประกวดราคาที่ศูนย์รวมข้อมูลฯ
ไม่จัดทำหลักฐานการปิดและปลดประกาศประกวดราคา
ไม่จัดส่งประกาศประกวดราคาให้ครบทุกหน่วยงานตามระเบียบ
จัดส่งประกาศประกวดราคาน้อยกว่า 20 วัน ก่อนถึงวันรับซอง
จัดส่งเอกสารอื่นให้แทนเอกสารประกวดราคา
ไม่จัดส่งเอกสารประกวดราคาทางไปรษณีย์แบบ EMS

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ระเบียบม.ท.ว่าด้วยวิธีการงบประมาณของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบม.ท.ว่าด้วยวิธีการงบประมาณของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้อ 34 อปท.จะจ่ายเงิน หรือก่อหนี้ผูกพันได้ตามข้อความ ที่กำหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้ ต้องมีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งหรือหนังสือสั่งการของม.ท. อนุญาตให้จ่าย และมีเงินรายได้เพียงพอที่จะเบิกได้
ผู้รับตรวจ หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงาน ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ หรือการบริหารของหน่วยรับตรวจ
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
1 กฎหมาย/ระเบียบ/ข้อบังคับ/มติครม.
2 วัตถุประสงค์
3 ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด คุ้มค่า
4 ความมีอยู่จริง : โปร่งใส
5 ตรวจสอบได้
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบ
1 ตรวจสอบเอกสาร
2 สังเกตการณ์
3 สัมภาษณ์/สอบถาม
4 สอบปากคำ
5 วิเคราะห์ข้อมูล
มาตรา 42 ให้ผู้ว่า หรือ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ มีอำนาจดังนี้
1.เรียกผู้รับตรวจ เรียกเจ้าหน้าที่หน่วยรับตรวจ เพื่อสอบสวน หรือสั่งให้ส่งมอบบัญชี ทะเบียน เอกสาร
หลักฐานที่จัดทำขึ้นหรือมีไว้ในครอบครอง
2.อายัด เงิน ทรัพย์สิน บัญชี ทะเบียน เอกสาร หรือ หลักฐานอื่นที่มีอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ
3.เรียกบุคคลใดๆ เพื่อมาให้การเป็นพยาน หรือให้ส่งมอบบัญชี ทะเบียน เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับหรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับหน่วยรับตรวจ
4. มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใดๆ
- ในเวลาทำการ
- ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก
เพื่อตรวจสอบ ค้น ยึด หรืออายัดบัญชี ทะเบียน เอกสาร หรือหลักฐานอื่นเพื่ออายัดเงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ หรือสันนิษฐานว่าเกี่ยวกับหน่วยรับตรวจเท่าที่จำเป็น
มาตรา 44 พิจารณาผลการตรวจสอบ
มีข้อบกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี หน่วยรับตรวจแจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการทราบภายใน 60 วัน กรณีหน่วยรับตรวจไม่ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ โดยไม่มีเหตุอันสมควร
มาตรา 45 พิจารณาผลการตรวจสอบ กรณีมีข้อบกพร่องเนื่องจากไม่มีข้อกำหนดให้หน่วยรับตรวจต้องปฏิบัติตาม
มาตรา 46 พิจารณาผลการตรวจสอบ กรณี
มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริตหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินหรือทรัพย์สินของราชการ
แจ้งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี
แจ้งต่อ ป.ป.ช.
แจ้งหน่วยรับตรวจ หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับ
มาตรา 47 พิจารณาผลการตรวจสอบ กรณี
มีความเสียหายเกิดขึ้น เพราะมีผู้กระทำการโดยมิชอบ สตง.มีอำนาจประเมินความเสียหาย รายงานให้สภาผู้แทนราษฎร/วุฒิสภาและ ค.ร.ม.ทราบ
มาตรา 61 ให้ผู้ว่าการและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

ตรวจสอบการเงินแผ่นดิน

ตรวจสอบการเงินแผ่นดิน
1. ตรวจสอบการรับจ่าย การเก็บรักษา การใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สินอื่น ของหน่วยรับตรวจ หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ แสดงความเห็น ว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่
2. ตรวจสอบบัญชี และรายงานการรับจ่ายเงินประจำปี และงบแสดงฐานะการเงินแผ่นดินประจำปี
3. ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปี
4. ตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจ และให้ตรวจสอบการประเมินภาษีอากร การจัดเก็บค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นที่หน่วยรับ
5. ตรวจจัดเก็บ ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนงาน งานโครงการที่จะมีผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณ
ประกาศ คปค.ฉบับที่ 29
1. ให้ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ยังใช้บังคับต่อไป ยกเว้นส่วนที่ 1 หมวด 1
2. ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ดำรงตำแหน่งถึง 30 ก.ย. 2550
3. ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่ คตง.ไปพลางก่อน
พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๔๒ สตง. มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของหน่วยรับตรวจเป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
หน่วยรับตรวจ หมายความว่า
1.กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็น กระทรวง ทบวง หรือกรม
2.หน่วยงานของราชการส่วนภูมิภาค
3.หน่วยงานของราชการส่วนท้องถิ่น
4.รัฐวิสาหกิจตามก.ม.ว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือตาม ก.ม.อื่น
5. หน่วยงานอื่นของรัฐ
6. หน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุน หรือกิจการที่ได้รับเงิน หรือทรัพย์สินลงทุนจากหน่วยรับตรวจตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
7. หน่วยงานอื่นใด หรือกิจการที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐที่มีกฎหมายกำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบ

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การบริหารงานพัสดุ(สตง.)

เงินแผ่นดิน คือ อะไร ....เงินแผ่นดิน นั้นคือ เงินของประชาชนทั้งชาติ....(พระบรมราโชวาท)
1.โครงสร้างองค์กรการตรวจเงินแผ่นดิน
องค์กรการตรวจเงินแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย
1. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
2. ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
3. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
1 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
อำนาจหน้าที่
วางนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน
กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
ให้คำแนะนำแก่ฝ่ายบริหารในการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการควบคุมการเงินของรัฐ
ออกระเบียบหรือประกาศกำหนดมาตรฐานหรือมาตรการเกี่ยวกับระบบและการควบคุมการตรวจสอบ
เสนอแนะให้หน่วยรับตรวจแก้ไขข้อบกพร่องหรือปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือมติ ครม.
กำกับและเป็นองค์กรชี้ขาดสูงสุดว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง
พิจารณาเลือกผู้สมควรดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
1.2 ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
การได้มา
ได้รับการคัดเลือกจาก คตง. เสนอสมาชิกวุฒิสภา
ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกวุฒิสภา
วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี เพียงวาระเดียว
อำนาจหน้าที่
เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบการบริหารทั่วไปของ สตง.
เป็นผู้แทน สตง. ในกิจการของ สตง. ที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
รายงานผลการตรวจสอบต่อ คตง./คณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง
3.สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 กำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
1. รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
2. ตรวจสอบการเงินแผ่นดิน
3. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
4. ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอของ สตง.
5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.ม. กำหนด

คุณภาพแห่งชีวิต, ปฏิทินแห่งความหวัง, จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน

เมื่อผมอยู่ในครรภ์มารดา ผมต้องการให้แม่รับประทานอาหาร ที่เป็นคุณประโยชน์ และได้รับ ความเอาใจใส่ และบริการอันดี ในเรื่องสุขภาพของแม่และเด็ก ผมไม่ต้องการมีพี่น้องมาก อย่างที่พ่อแม่ผมมีอยู่ และแม่จะต้องไม่มีลูกถี่นัก พ่อกับแม่แต่งงานกันถูกกฎหมาย หรือธรรมเนียมประเพณีหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่สำคัญที่พ่อกับแม่ ต้องอยู่ด้วยกัน อย่างสงบสุข ทำความอบอุ่นให้ผมและพี่น้อง ในระหว่าง 2-3 ขวบแรก ซึ่งร่างกายและสมองผมกำลังเติบโต ในระยะที่สำคัญ ผมต้องการให้แม่ผม กับตัวผม ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์ ผมต้องการไปโรงเรียน พี่สาว หรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียน จะได้มีความรู้หากินได้ และจะได้รู้คุณธรรม แห่งชีวิต ถ้าผมมีสติปัญญาเรียนชั้นสูงๆ ขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ ไม่ว่า พ่อแม่จะรวยหรือจน จะอยู่ในเมือง หรือชนบทแร้นแค้น เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ผมต้องการงานอาชีพที่มีความหมาย ทำให้ได้รับความพอใจว่า ผมได้ทำงานเป็นประโยชน์แก่สังคม บ้านเมืองที่ผมอาศัยอยู่ จะต้องมีขื่อมีแป ไม่มีการข่มขู่ กดขี่ หรือประทุษร้ายกัน ประเทศของผมควรจะมีความสัมพันธ์อันชอบธรรม และเป็นประโยชน์กับโลกภายนอก ผมจะได้มีโอกาสเรียนรู้ ถึงความคิด และวิชาของมนุษย์ทั้งโลก ผมต้องการให้ชาติของผม ได้ขายผลผลิตแก่ต่างประเทศ ด้วยราคาอันเป็นธรรม หากผมเป็นชาวนาชาวไร่ ผมก็อยากมีที่ดินของผมพอสมควร สำหรับทำมาหากิน มีช่องทางได้กู้เงินมา ขยายงาน มีโอกาสรู้วิธี ทำกินแบบใหม่ๆ มีตลาดดี และขายสินค้าได้ราคายุติธรรม หากผมเป็นกรรมกร ผมก็ควรจะมีหุ้นส่วน หรือมีส่วนในโรงงาน หรือบริษัทห้างร้านที่ผมทำงานอยู่ ในฐานะที่ผมเป็นมนุษย์ ผมก็ต้องการอ่านหนังสือพิมพ์ และหนังสืออื่นๆ ที่ไม่แพงนัก จะฟังวิทยุดูโทรทัศน์ก็ได้ โดยไม่ต้องทนรบกวนจากโฆษณามากนัก ผมต้องการสุขภาพอนามัยอันดี และรัฐบาลจะต้องให้บริการป้องกันโรคแก่ผมอย่างฟรี กับบริการการแพทย์ รักษาพยาบาลอย่างถูกอย่างดี เจ็บป่วย เมื่อใด หาหมอหาพยาบาลได้สะดวก เมื่อตายแล้วยังมีสมบัติเหลืออยู่ เก็บไว้ให้เมียผมพอใช้ในชีวิตของเธอ ถ้าลูกยังเล็กอยู่ก็เก็บไว้เลี้ยงให้โต แต่ลูกที่โตแล้วไม่ให้ นอกนั้นรัฐบาลควรเก็บไปหมด จะได้ใช้เป็นประโยชน์ในการบำรุงชีวิตของคนอื่นๆ บ้าง ตายแล้วเผาผมเถิดอย่าฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัยและทำกิน และอย่าทำพิธีรีตองในงานศพให้วุ่นวายไป นี่แหละคือความหมายแห่งชีวิต นี่แหละคือการพัฒนาที่ควรให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของทุกคน

การวางแผนการวางและจัดทำผังเมืองรวมของท้องถิ่นภายใต้กระบวนการผังเมือง

ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการวางผังเมือง โดย...นายธรรมรงค์ ราชามุสิกะ
วิสัยสัศน์การวางผังมือง (Vision Planning) คือความคิด จินตนาการ หรือมโนภาพแห่ง การ มอง ไปในอนาคต การมองไปข้างหน้า และการมองไปรอบๆ ด้านระยะการมองขึ้นอยู่กับบริบทของกาลเวลา สถานที่และชุมชนนั้น ๆ และจะต้องมองถึงสภาพแวดล้อมที่ไม่ไกลนักและเป็นเรื่องคาดการณ์ในระยะไกล้ด้วย “ฝันที่เป็นจริง”
การวางแผน (Planning) หมายถึง การมองหรือการคิดถึงเป้าหมาย หรือเป้าประสงค์ที่มีความหมายและมีความหมายในการพัฒนาหรือทางเลือกหรือการกระทำในอนาคตเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การวางแผนมี 2 ลักษณะ
1. การวางแผนเชิงกลยุทธ์
2. การวางแผนเชิงการจัดการ
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นวิทยาการและศิลปะแห่งการสั่งการที่นำไปใช้ในการวางแผนทั้งหมดในการดำเนินการสู้รบอย่างขนานใหญ่และเต็มรูปแบบ และมีองค์ประกอบคือกลยุทธ์ระดับย่อยที่เรียกว่า “ Tactics ”
1. การกำหนดกลยุทธ์
2. การกระทำให้เป็นไปตามกลยุทธ์
3. การควบคุมในเชิงกลยุทธ์
การวางแผนเชิงการจัดการ หมายถึง การกำหนดเป้าหมายและเป้าประสงค์ระยะยาวของกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งและมีการรับดำเนินการรวมทั้งการจัดการด้านทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นสำหรับกำหนดให้เป้าหมายต่างๆดำเนินการไปได้ เกี่ยวข้องกับการวางแผนอย่าง “สมเหตุสมผล” Rational Planning
การพัฒนา (Development) การทำให้เจริญขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป จากง่ายๆไปหายาก จากเรื่องยากไปสู่ความสลับซับซ้อน
ในภาษาไทยการพัฒนาใช้ความหมายเชิงบวก หรือเชิงปฏิฐาน (positive ) ทั้งนี้โยงกับศัพท์ที่ว่าวัฒนาถาวร ที่หมายถึง ความสมบูรณ์พูนสุข
ในภาษาอังกฤษใช้ในความหมายในเชิงชื่นชมที่บ่งบอกถึงความเป็นมิตร (User Friendly Term Development)
การพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development หมายถึง การพัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ทำให้คนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดความสามารถของเขาในการที่จะตอบสนองต่อความต้องการของเขาเอง
การพัฒนาที่ผ่านมา
ใช้เศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง
ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือจัดการ
ใช้อุตสาหกรรมเป็นตัวชี้วัด
ตัวกระทำ
F ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวถูกกระทำ
 สภาวะโลกร้อน
 สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
F สังคมเสื่อมทราม
ปัญหา
ปัญหาของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
1. Population
2. Depletion
3 Pollution
(ประชากรเพิ่มมากขึ้น ทรัพยากรร่อยหรอ ก่อมลภาวะ)
แกนกลางในการแก้ปัญหา
1) Science
2) Technology
3) Activities Economy
เมื่อเดินถูกทางทุกอย่างก็ถูกต้องมองระบบเก่ามาปรับปรุง
1. ENVIRONMENT
1) Population
2) Depletion
3) Pollution
2. DEVELOPMENT
1) Science
2) Technology
3) Economy
3. HUMENT DEVELOPMENT
1) Hand
2) Head
3) Hard
นโยบาขการวางและจัดทำผังประเทศ
วัตถุประสงค์ของการวางผังประเทศ
บทบาท
วิสัยทัศน์
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาพื้นที่
ผังแนวคิดในการพัฒนาประเทศ
ผังนโยบายรายสาขา
วัตถุประสงค์ การวางผังประเทศ
1) เพื่อเป็นผังแม่บทในการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศ
ทั้งทางด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระบบชุมชน โครงสร้างพื้นฐาน และ
โครงการพัฒนาต่างๆ สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม
และวิถีชีวิตของประชาชน เพื่อให้สามารถแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์
2) เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้
3) เพื่อเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระจายโอกาสการมีงานทำ อย่าง
เท่าเทียมทั้งในเมือง และ ชนบท
4) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
5) เพื่อจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอและ
เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์ทั้งใน ปัจจุบัน และ อนาคต

ช่วง
ระยะเวลา
การพัฒนา ช่วงปี สถานภาพของประเทศไทย (Positioning)
5 ปี


15ปี

30ปี

50ปี พ.ศ. 2551-2555


พ.ศ. 2551-2565

พ.ศ. 2551-2580

พ.ศ. 2551-2600 เป็น Gateway ระหว่างอาเซียนและจีนตอนใต้รวมทั้ง
เป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย
เป็นประเทศอุตสาหกรรมแปรรูปและบริการบนฐานทรัพยากรและองค์ความรู้ของตนเอง
เป็นประเทศพัฒนาแล้ว
เป็นประเทศชั้นนำของโลกด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีการเกษตร อาหาร และ บริการด้านสุขภาพ

วิสัยทัศน์ระดับประเทศในด้านการผังเมือง
“ พัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมือง และ ชนบทอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้เท่าเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีบทบาทบนเวทีการพัฒนาในกลุ่มภูมิภาคเอเชียควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกของการดำรงวิถีชีวิต ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ”
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเชิงพื้นที่
1) ยุทธศาสตร์เชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก เน้นการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพฯให้เป็นเมืองมาตรฐานนานาชาติ
3) ยุทธศาสตร์การกระจายความเจริญ การกระจายตัวของประชากร แรงงาน และแหล่งงาน โดยการพัฒนาระบบกลุ่มเมือง (Cluster) ประกอบด้วยศูนย์กลางความเจริญที่เป็นเมืองสำคัญของแต่ละภาค เมืองขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อให้เกิดสมดุลและมีการกระจายตัวอย่างเหมาะสม
4) มีการพัฒนาที่สมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาพื้นที่ ( Sustainability )
5) ส่งเสริมนวัตกรรม ( Innovation )
ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน
พัฒนาพื้นที่เมือง
1. ควบคุมการเติบโตของพื้นที่เมืองไม่ให้รุกล้ำพื้นที่สงวน
2. กำหนดให้ศูนย์กลางเมืองมีความหนาแน่นแบบเข้มข้น
พื้นที่สงวนและพื้นที่อนุรักษ์
1. กำหนดสัดส่วนพื้นที่ป่าไม้
2. กำหนดนโยบายการใช้ที่ดินในเขตอนุรักษ์ เขตสงวน และ
เขตพัฒนาสิ่งแวดล้อม
3. ฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับสู่สภาพเดิม
ผังภาค (Regional Plan)
ผังนโยบายการใช้พื้นที่แต่ละภาคอย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยง ในการรองรับโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ของการพัฒนาเมือง ชนบท การใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ศักยภาพของพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิธีชีวิตของประชาชน สนับสนุนให้ไทยพร้อมแข่งขันในเวทีโลก สร้างความสมดุลระหว่างเมืองและชนบท การพัฒนากับการอนุรักษ์
ผังเมืองเฉพาะ เป็นผังระดับพื้นที่เฉพาะ เป็นแผนผังและโครงการดำเนินการ เพื่อพัฒนาและดำรงรักษาบริเวณเฉพาะแห่งหรือที่เกี่ยวข้องหรือชนบท เพื่อประโยชน์แก่การผังเมือง ผังเมืองเฉพาะเป็นผังที่มีรายละเอียดเพิ่มเติมจากผังเมืองรวม และมีข้อกำหนดที่แน่นอนตามกฎหมาย เพื่อใช้ในโครงการพัฒนาและดำเนินโครงการต่างๆ
เพื่ออนุรักษ์ดำรงรักษา ฟื้นฟูบูรณะ ส่งเสริมอาคาร สถานที่หรือวัตถุที่มีประโยชน์ มีคุณค่าในทางศิลปกรมม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์โบราณคดี และความสวยงามตามธรรมชาติ
ผังเฉพาะกิจ เป็นผังระดับพื้นที่เฉพาะ เป็นผังเพื่อพัฒนาเรื่องหรือเฉพาะพื้นที่ เช่นศูนย์ราชการ สวนสาธารณะ การปรับปรุงพื้นที่ราชพัสดุเป็นต้น เพื่อกำหนดที่ตั้งและขนาดของพื้นที่สำหรับโครงการ ต่างๆของภาครัฐ
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
“การผังเมือง” หมายความว่า การวาง จัดทำและดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองรวมผังเมืองเฉพาะในบริเวณเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท เพื่อสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมืองขึ้นใหม่ หรือแทนเมืองหรือส่วนของเมืองที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้มีหรือทำให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสุขลักษณะความสะดวกสบาย ความเป็นระเบียบ ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม และสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสังคม และสภาพแวดล้อม เพื่อดำรงร้กษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์ หรือคุณค่าทางศิลปกรรมสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี หรือเพื่อบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติภูมิประเทศที่สวยงาม หรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ
“ ผังเมืองรวม ” หมายความว่า แผนผัง นโยบาย และโครงการ รวมถึงมาตราการควบคุมโดยทั่วไป เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาและดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมขนส่ง การสาธารณูปโภคสาธารณูปการ บริหารสาธารณะและสภาพแวดล้อม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของเมือง
“ ผังเมืองเฉพาะ”หมายความว่า แผนผังและโครงการดำเนินการ เพื่อพัฒนาและดำรงรักษาบริเวณเฉพาะแห่งหรือที่เกี่ยวข้องหรือชนบท เพื่อประโยชน์แก่การผังเมือง
“ อาคาร ” หมายความว่า อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควยคุมการก่อสร้าง รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างทุกชนิด หรือสิ่งอื่นใดที่บน ใต้หรือผ่านเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำ
“ที่อุปกรณ์”หมายความว่า ที่ดินของเอกชนซึ่งผังเมืองเฉพาะจัดให้เป็นที่เว้นว่างหรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่นด้วย เช่น ทางเท้า ทางเดิน ตรอกหลังหรือข้างอาคาร ทางน้ำหรือท่อระบายน้ำ
“ที่โล่ง”หมายความว่า บริเวณที่ดินอันได้ระบุไว้ในผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะให้เป็นที่ว่างส่วนใหญ่และเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์
“ เจ้าพนักงานการผัง ” หมายความว่า (ผฉ) เจ้าพนังงานการผังผู้จัดทำผังที่ได้ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา ใน (ผร) ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองหรือเจ้าพนังานท้องถิ่นผู้วางและจัดทำผังเมืองรวม
“ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ” ในเขตเทศบาล หมายความว่า คณะเทศมนตรี ในเขตสุขาภิบาล หมายความว่า คณะกรรมการสุขาภิบาล ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอที่ได้รับอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัด ในเขตกรุงเทพมหานคร หมายความว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือหัวหน้าเขตที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครให้ทำการแทน
“ เจ้าห้าที่ดำเนินการ ” หมายความว่า เจ้าพนังงาน หรือองค์การหรือบรรษัทของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่หรือซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ทำกิจกรรมเป็นไปตามผังเฉพาะ
“องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล หรือกรุงเทพมหานคร
“ผู้ว่าราชการจังหวัด” หมายความรวมถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่เป็นการวางและจัดทำผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครให้ทำการแทน
“รัฐมนตรี” หมายความ รัฐมนตรีผู้รัษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 26 การใช้บังคับผังเมืองรวมให้กระทำตามกฎกระทรวง กฏกระทรวงตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการตาม ม.17 ให้ใช้บัคับได้ไม่เกิน 5 ปี
ในกรณีที่ผังหมดอายุไม่อาจแก้ไขดำเนินการได้ทันภายระยะเวลาที่กฏกระทรวงใช้บังคับ ให้สำนักผังเมือง หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการผังเมือง ขยายเวลาการใช้บังคับกฏกระทรวงตามวรรคหนึ่งได้อีก สองครั้งครั้งละไม่เกินหนึ่งปี
ในเขตที่ได้มีกฏกระทรวงใช้บัคับผังเมืองรวมแล้วแล้ว ห้ามบุคคลใดใช้ประโยชน์ที่ดินผิดใปจากข้อกำหนดวัในผังเมืองรวมหรือปฏิบัติการใดๆแย้งไปจากผังเมืองรวมนั้น (ไม่บังคับย้อนหลัง) ม.27
การอนุญาตก่อสร้างอาคารรวมทั้งการดัดแลงเปลี่ยนแปลงฯลฯตาม พ.ร.บ.
ควบคุมอาคาร พ..2522 การอนุญาตต้องตรวจสอบกับกฏกระทรวงดังนี้
1. ที่ตั้งที่ดินที่ขออนุญาตในเขตผังเมืองรวม
2. ประเภทของกิจการในแปลงที่ดินที่ขออนุญาติ
3. ตรวจสอบข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ระบุตามผัง ฯ
4. การขออนุญาติประกอบกิจการ เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง
การดำเนินการตามกกหมายผังเมืองรวมด้วยกฏหมายอื่นให้เป็นไปตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น
- พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535
- พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
- พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ..2522
- พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินพ.ศ. 2535
การรายงานและการตรวจสอบให้เป็นไปตามกฏกระทรวง เมื่ออนุญาติให้มีการก่อสร้างตามกฏหมายผังเมือง แล้วควรมีการรายงานการอนุญาติทุกเดือน เพื่อควบคุมให้เป็นไปตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวม
1. กิจกรรมที่กำหนดให้ใช้เป็นส่วนใหญ่ในแต่ละประเภท (การใช้ที่ดินหลัก)
2. กิจกรรมอื่นที่กำหนดให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละที่กำหนด (การใชที่ดินรอง)
3. ตรวจสอบที่ดินและอาคารให้เป็นไปตามข้อกำหนดทั้ง การใช้ประโยชน์หลักและประโยชน์รอง“หากพบว่าผ่าฝืนกฏกระทรวงต้องดำเนินการตามกฏหมาย”